Sunday, July 24, 2011

การเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยอินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น Blended Learning 2.0 for Student-Based Learning Approach Using Inter

ABSTRACT

The objective of this study is to present the result of applying the online tools and software over the Internet association with Blended Learning 2.0 to support student centered learning in the Higher Educational context.
The concept was experimented of 41 students in an Electronic Commerce Class of South-east Asia University, during the academic year 2010. The conceptual framework used in the experiment covers the learning process which consists of 2 major components, in-class learning (Face to Face) and problem based learning. Each component is applied by using the appropriate online tools and software. The teacher gets students set up learning groups for doing research, setting learning project together. After that each group started developing project according to the plan before presenting the project results together in front of the class and online presentation, and bringing the suggestions from teacher and classmates for improving the project work by using Internet Application to complete the activity.
The result showed that the Blended Learning 2.0 not only helped decrease the expense in software providence, management and maintenance but also decrease the students’ interaction problem which teammates and teacher share and access the work plan through online at the same time. Moreover, it increased skills of self learning, analyzing, criticizing, sharing, presenting and communicating with each other effectively.


Keywords: Blended Learning, e-Learning, Student-based Learning, Problem-based Learning, Internet Application

บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์และเครื่องมือแบบออนไลน์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เข้ากับการเรียนการสอนเชิงผสมผสาน 2.0 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในระดับอุดมศึกษา
โดยทำการทดลองกับผู้เรียนจำนวน 41 คน ในรายวิชาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ปีการศึกษา 2553
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการทดลอง ครอบคลุมกระบวนการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือการเรียนรู้ในชั้นเรียน (แบบเผชิญหน้า) และการเรียนรู้จากกรณีปัญหา โดยนำซอฟต์แวร์และเครื่องมือแบบออนไลน์ที่เหมาะสม มาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเรียนรู้ทั้งสองแบบ
เบื้องต้นกำหนดให้ผู้เรียน จัดตั้งกลุ่มการเรียนเพื่อทำการศึกษา ค้นคว้า กำหนดหัวข้อโครงงาน เขียนแผนการดำเนินโครงงานร่วมกัน จากนั้นแต่ละกลุ่มจะดำเนินการพัฒนาโครงงาน ตามแผนที่กำหนดและนำเสนอผลงานที่พัฒนาขึ้นร่วมกันหน้าชั้นเรียน และการนำเสนอแบบออนไลน์ รวมทั้งทำการปรับปรุงผลงานของกลุ่มตนเองจากการเสนอแนะทั้งจากผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น โดยใช้อินเตอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นในการทำกิจกรรมทั้งหมด
จากผลการทดลองกระบวนการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหา การบริหารจัดการ และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์แล้ว ยังสามารถช่วยลดปัญหาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ด้วยการแบ่งปัน และการเข้าถึงแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่มและผู้สอนแบบออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ วิจารณ์ การแบ่งปัน การนำเสนอ และการสื่อสารร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ